วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Microcontroller Basics


Microcontroller Basics
อุปกรณ์พื้นฐานต่างๆ



Arduino รุ่น MEGA 2560 R3


Arduino UNO

Arduino Nano


Relay Module 4 chanel

NodeMCU Base Ver 1.0 for ESP8266 NodeMCU UART WIFI IoT บอร์ด ขยายขา NodeMCU V3 ESP8266
NodeMCU Base Ver 1.0 for ESP8266 NodeMCU UART WIFI IoT

Breadboard
Breadboard ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้เราออกแบบวงจรอิเล็คทรอนิกส์ได้ง่ายขึ้นเพราะการใช้งาน Breadboard ไม่ต้องใช้การบัดกีวงจร เพียงแค่ใช้สายไฟเสียบลงไปที่รูบนบอร์ดก็สามารถเชือมต่อจุดในวงจรได้ตามที่เราต้องการ


Multimeter
เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้หลากหลายชนิด เช่น แรงดัน, กระแส, ความต้านทานและสามารถใช้กับไฟกระแสตรง (DC) หรือไฟกระแสสลับ (AC) ได้ แหล่งพลังงานในการทำงานของมัลติมิเตอร์ในปัจจุบันนั้นได้มาจากแบตเตอรี่ขนาด AA หรือ AAA ทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาสามารถนำไปใช้งานในที่ต่างๆ

5VDC SONGLE Power Relay 5V Relay 5V
5VDC SONGLE Power Relay 5V Relay 5V

16MHZ Crystal Oscillator HC-49S
16MHZ Crystal Oscillator HC-49S

Speaker

LDR
คือตัวต้านทานปรับค่าตามแสง ตัวต้านทานชนิดนี้สามารถเปลี่ยนความนําไฟฟ้าได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ โฟโตรีซีสเตอร์ ( Photo Resistor) หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์ (Photo Conductor) เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ประเภทแคดเมี่ยมซัลไฟด์ ( Cds : Cadmium Sulfide) หรือแคดเมี่ยมซิลินายส์ ( CdSe : Cadmium Selenide) ซึ่งทั้งสองตัวนี้ก็เป็นสารประเภทกึ่งตัวนำ เอามาฉาบลงบนแผ่นเซรามิกที่ใช้เป็นฐานรองแล้วต่อขาจากสารที่ฉาบ ไว้ออกมา โครงสร้างของ LDR

อ้างอิง : https://www.thitiblog.com/blog/6796

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วงจรอนุกรม & แบบขนาน

การต่อวงจรแบบอนุกรม & แบบขนาน

แบบอนุกรม(series)

การต่อแบบนี้กระแสที่ไหลผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวเท่ากันแรงดันจากแบตเตอรี่จะถูกแบ่งระหว่างหลอดทั้งสอง
หากหลอดเหมือนกัน แต่ละหลอดจะมีแรงดันครึ่งหนึ่งของแรงดันแบตเตอรี่
Two lamps connected in series

แบบขนาน(parallel)

การต่อแบบนี้อุปกรณ์แต่ละตัวจะมีแรงดันเท่ากันหลอดทั้งสองมีแรงดันเต็มจากแบตเตอรี่ตกคร่อม
กระแสจากแบตเตอรี่จะแบ่งระหว่างหลอดทั้งสอง





Two lamps connected in parallel
อ้างอิง:http://www.ice.co.th/beginner/study/seriespa.htm


แบบอนุกรม












แบบขนาน

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

KID Bright & ภาษา Python


KidBright จากจินตนาการสู่ความเป็นจริง


KidBright เป็นบอร์ดที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียนผ่านการเรียนรู้แบบ Learn and Play บอร์ดถูกออกแบบให้มีการแสดงผลและเซนเซอร์แบบง่าย ซึ่งจะทำงานสอดคล้องกับชุดคำสั่งควบคุมการทำงาน โดยผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้างชุดคำสั่งแบบ Block-structured Programming ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน


จุดเด่นของเทคโนโลยี:
บอร์ดสมองกลฝังตัวประกอบด้วย เซนเซอร์พื้นฐาน จอแสดงผล real-time clock ลำโพง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
สร้างชุดคำสั่งแบบ block-structured programming ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
ชุดคำสั่งถูกส่งไปยังบอร์ดสมองกลฝังตัวผ่านเครือข่ายไร้สาย ทำให้ใช้งานได้ง่ายไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อสาย
คุณสมบัติ:
แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android
แอปพลิเคชันสร้างชุดคำสั่งรองรับการทำงานแบบ Event-driven Programming
แอปพลิเคชันสร้างชุดคำสั่งรองรับการทำงานแบบ Multitasking
รองรับการเชื่อมต่อเซนเซอร์ที่หลากหลาย
ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย:
โรงเรียนต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยงานส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
นักเรียนที่สนใจ


KidBright เป็นบอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้โปรแกรมมิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียน ได้ออกมาเพื่อให้ง่ายต่อการเชื่อมต่อและใช้งาน เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถทำให้ผู้เรียนสนุกและได้เรียนรู้ตลอดการออกแบบ ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มต้นกันเลย!

อุปกรณ์ในกล่อง KidBright ประกอบด้วย
บอร์ดหลัก
บอร์ด Sensor Hub
สายเชื่อมต่อ

ขาตั้งอุปกรณ์ในกล่อง KidBright
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ
ประกอบขาตั้งกับบอร์ดหลัก ให้ครบทั้ง 4 ขา
ติดตั้งบอร์ด Sensor Hub ไว้ด้านล่างบอร์ดหลัก โดยให้ขั้วสีขาวของบอร์ดหลักและบอร์ด Sensor Hub อยู่ฝั่งเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการต่อสาย
ต่อสายเชื่อมต่อเข้ากับทั้ง 2 บอร์ด เพียงเท่านี้เราก็จะได้บอร์ด KidBright ที่พร้อมใช้งานแล้ว


KidBright เป็นบอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้โปรแกรมมิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียน หลังจากที่เราได้เรียนรู้การเชื่อมต่อบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเชื่อมต่อบอร์ด กับแท็บเล็ตเข้าด้วยกัน เพื่อให้โปรแกรมทำงาน
https://youtu.be/Irh1tEHLyrg



การเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดกับอุปกรณ์ Android สามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นผ่าน Wifi Hotspot หรือ Access Point อีกทั้งยังสามารถเข้าควบคุมบอร์ดผ่าน อุปกรณ์ Android หรือ Web Browser ได้อีกด้วย สร้างความสะดวกสบายอีกขั้นให้กับการเรียนรู้ด้วย KidBright สำหรับบทความนี้จะแนะนำขั้นตอนการเชื่อมต่อ AdHoc Mode, Infra Mode และ Cloud Mode ชมได้จากคลิปนี้เลย!




ขั้นตอนการเชื่อมต่อ AD-HOC Mode (นาทีที่ 1.05 เป็นต้นไป)
เลือกเมนู Add Board
กดปุ่มที่ 1 ใส่เลขบอร์ด
กด Connection Setup
ทำตามขั้นตอนที่ปรากฏ แล้วเลือก Ad-Hoc Mode
เมื่อมีการเชื่อมต่อ ไฟจะหยุดกระพริบ
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ Infra Mode (นาทีที่ 3.09 เป็นต้นไป)
กด Connection Setup
ทำตามขั้นตอนที่ปรากฏ
เลือก Infra Mode
กด Switch 2 ค้างไว้ 5-6 วินาที
กรอก Password
เมื่อมีการเชื่อมต่อ ไฟจะหยุดกระพริบ
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ Cloud Mode (นาทีที่ 6.08 เป็นต้นไป)
เปิด INFRA Mode


หลังจากที่บอร์ด KidBright เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Android แล้ว หลังจากนั้นจะเป็นการทดสอบใช้งานบอร์ด ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลบนจอ การเล่นเสียง โดยสามารถดึงโปรแกรมตัวอย่างมาใช้งาน และสามารถสร้างขึ้นใหม่เองได้อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มทำตามคลิปนี้ไปพร้อมๆกันเลย

เมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสร็จแล้ว เราสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบได้จากโปรแกรมตัวอย่าง

อ้างอิง : https://bit.ly/2DX8jbt



แนะนำภาษา Python
ภาษา Python คืออะไร

Python เป็นภาษาเขียนโปรแกรมระดับสูงที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการเขียนโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป ภาษา Python นั้นสร้างโดย Guido van Rossum และถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1991 Python นั้นเป็นภาษาแบบ interprete ที่ถูกออกแบบโดยมีปรัญชาที่จะทำให้โค้ดอ่านได้ง่ายขึ้น และโครงสร้างของภาษานั้นจะทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถเข้าใจแนวคิดการเขียนโค้ดโดยใช้บรรทัดที่น้อยลงกว่าภาษาอย่าง C++ และ Java ซึ่งภาษานั้นถูกกำหนดให้มีโครงสร้างที่ตั้งใจให้การเขียนโค้ดเข้าใจง่ายทั้งในโปรแกรมเล็กไปจนถึงโปรแกรมขนาดใหญ่



Python นั้นมีคุณสมบัติเป็นภาษาเขียนโปรแกรมแบบไดนามิกส์และมีระบบการจัดการหน่วยความจำอัตโนมัติและสนับสนุนการเขียนโปรแกรมหลายรูปแบบ ที่ประกอบไปด้วย การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ imperative การเขียนโปรแกรมแบบฟังก์ชัน และการเขียนโปรแกรมแบบขั้นตอน มันมีไลบรารี่ที่ครอบคลุมการทำงานอย่างหลากหลาย

ตัวแปรในภาษา Python นั้นมีให้ใช้ในหลายระบบปฏิบัติการ ทำให้โค้ดของภาษา Python สามารถรันในระบบต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง CPython นั้นเป็นการพัฒนาในตอนตั้นของ Python ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ open source และมีชุมชนสำหรับเป็นต้นแบบในการพัฒนา เนื่องจากมันได้มีการนำไปพัฒนากระจายไปอย่างหลากหลาย variant CPython นั้นจึงถูกจัดการโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Python Software Foundation
ประวัติของภาษา Python

ภาษา Python นั้นกำเนิดขึ้นในปลายปี 1980 และการพัฒนาของมันนั้นเริ่มต้นใน December 1989 โดย Guido van Rossum ที่ Centrum Wiskunde & Informatica (CWI) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องในผู้ประสลความสำเร็จในการสร้างภาษา ABC ที่มีความสามารถสำหรับการ exception handling และการติดต่อผสานกับระบบปฏิบัติการ Amoeba ซึ่ง Van Rossum นั้นเป็นผู้เขียนหลักการของภาษา Python และเขาทำหน้าเป็นกลางในการตัดสินใจสำหรับทิศทางการพัฒนาของภาษา Python


Python 2.0 ได้ถูกเผยแพร่ใน 16 October 2000 และมีคุณสมบัติใหม่ที่โดดเด่น ที่ประกอบไปด้วย cycle-detecting garbage collector และสนับสนุน Unicode กับการเผยแพร่ครั้งนี้ กระบวนการพัฒนานั้นได้เปลี่ยนไปโดยการร่วมกันพัฒนาด้วย Community มากขึ้น

Python 3.0 (ซึ่งได้มีการพัฒนามาก่อนหน้านี้และได้อ้างถึงโดยใช้ชื่อว่า Python 3000 หรือ py3k) มันการพัฒนาที่ถอยหลังซึ่งมันเข้ากันกับ Python ในเวอร์ชันก่อนหน้าไม่ได้ ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ใน 3 December 2008 หลังจากที่ได้มีการทดสอบอยู่เป็นเวลานาน คุณสมบัติที่สำคัญของมันจำนวนมากได้ถูกย้อนกลับไปเพื่อให้เข้ากันได้กับ Python 2.6.x และ 2.7.x เวอรฺชันซีรีย์
ไวยากรณ์ของภาษา Python

ภาษา Python นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีความตั้งใจว่าจะให้เป็นภาษาที่อ่านง่าย มันถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่มองเห็นได้โดยไม่ซับซ้อน โดยมักจะใช้คำในภาษาอังกฤษในขณะที่ภาษาอื่นใช้เครื่องหมายวรรคตอน นอกจากนี้ Python มีข้อยกเว้นของโครงสร้างทางภาษาน้อยกว่าภาษา C และ Pascal
Python Interpreter

Python interpreter นั้นเป็นตัวแปรภาษาของภาษา Python เพื่อให้สามารถรันโค้ด Python ได้ ซึ่งได้มากับไลบรารี่มาตรฐานที่สามารถใช้งานได้ฟรี ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ https://www.python.org/ ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ source และ binary สำหรับแพลตฟอร์มทีไ่ด้รับความนิยม นอกจากนี้ interpreter ยังสนับสนุนการเขียนโปรแกรมกับ Interactive shell ซึ่งเป็นการเขียนโค้ดของภาษา Python ลงไปและเห็นผลลัพธ์การทำงานของคำสั่งได้ในทันที Python interpreter นั้นยังสามารถนำเพิ่มความสามารถกับฟังก์ชันใหม่ที่ถูกพัฒนามาจากภาษา C และ C++ Python นั้นเหมาะสำหรับเป็นภาษาในการสร้าง Extension และแอพพลิเคชันที่ปรับแต่งได้

ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษา Python ในดรื่องคุณสมบัติของภาษาและประวัติความเป็นมาของมัน นอกจากนี้เรายังพูดถึง Python interpreter ซึ่งเป็นตัวแปลโค้ดของภาษา Python ให้สามารถทำงานได้ ในบทต่อไป จะเป็นการเตรียมเครื่องมือและการติดตั้งสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Pytho

ข้อมูลไฟฟ้า & วงจร

ไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

Steady DC
ดีซี(DC)สม่ำเสมอ(steady)
จากแบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายกำลังคุมค่า
ในอุดมคติสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์
 
Smooth DC
ดีซี(DC)เรียบ(smooth)
จากแหล่งจ่ายกำลังที่มีการกรอง
เหมาะสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์
 
Varying DC
ดีซี(DC)ไม่เรียบ(varying)
จากแหล่งจ่ายกำลังที่ไม่ได้กรองไม่เหมาะสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์
    ไฟฟ้ากระแสตรง(DC) ไหลไปทิศทางเดียว  แต่อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง
แรงดันกระแสตรงเป็นบวก หรือเป็นลบก็ได้  แต่อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ปกติต้องเลี้ยงด้วยไฟกระแสตรงสม่ำเสมอและคงที่ ที่ค่าหนึ่งหรือไฟกระแสตรงที่เรียบมีค่าเปลี่ยนแปลง ที่เรียกว่าริบเปิ้ลเพียง เล็กน้อย
เซลล์ แบตเตอรี่ และแหล่งจ่ายกำลังแบบคุมค่า ให้ไฟกระแสตรงแบบสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นดีซีในอุดมคติสำหรับวงจร อิเล็กทรอนิกส์
แหล่งจ่ายกำลังประกอบด้วย หม้อแปลง ซึ่งทำหน้าที่แปลงไฟกระแสสลับหลักให้ได้แรงดันกระแสสลับที่เหมาะสม  จากนั้นก็
แปลงไฟกระแสสลับให้เป็นไฟกระแสตรงด้วย ตัวเรียงกระแสแบบบริดจ์  แต่ไฟที่ได้ยังไม่เรียบและไม่เหมาะที่จะใช้กับวงจร อิเล็กทรอนิกส์
แหล่งจ่ายกำลังบางแบบจะมี ตัวเก็บประจุ เพื่อกรองไฟให้เรียบ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความไวน้อย
รวมทั้งใช้กับโครงงานส่วนใหญ่ของเรา
หลอดไฟ ตัวทำความร้อนและมอเตอร์ ทำงานด้วยไฟเลี้ยงกระแสตรงได้
สำหรับรายละเอียดมากกว่านี้กรุณาดูที่หน้า แหล่งจ่ายกำลัง








ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

        ไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) ไหลทางเดียวแต่สลับทิศอย่างต่อเนื่อง
แรงดันกระแสสลับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องระหว่างบวก(+) และลบ(-)
อัตราการเปลี่ยนทิศทางเรียกว่าความถี่ของไฟกระแสสลับ มีหน่วยวัดเป็นเฮิร์ท(Hz) ซึ่งก็คือจำนวนรอบคลื่นต่อ หนึ่งวินาที
ไฟฟ้าหลักในประเทศไทยใช้ความถี่ 50Hz.
ดูรายละเอียดข้างล่างสำหรับ คุณสมบัติ ของสัญญาณ
แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับเหมาะสำหรับจ่ายกำลังให้อุปกรณ์บางอย่าง เช่น หลอดไฟและเครื่องกำเนิดความร้อน แต่วงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ต้องการเลี้ยงด้วยไฟกระแสตรงคงที่ (ดูข้างล่าง)

AC
เอซี(AC)จากแหล่งจ่ายกำลัง
รูปร่างแบบนี้เรียกว่าคลื่นซายน์
 
triangle wave
สัญญาณสามเหลี่ยมเป็นเอซี(AC)เพราะเปลี่ยนแปลงระหว่างบวก (+)และลบ (-)

คุณสมบัติของสัญญาณไฟฟ้า

Wave properties     สัญญาณไฟฟ้าคือแรงดันหรือกระแสซึ่งเป็นพาหะของข้อมูลข่าวสาร ปกติจะหมายถึงแรงดัน อย่างไรก็ตามสามารถ ใช้ได้ทั้งแรงดันหรือกระแสในวงจรกราฟแรงดัน-เวลาทางด้านขวาแสดงถึงคุณสมบัติต่างๆของสัญญาณไฟฟ้า  นอกจากนี้แล้วยังแสดงความถี่ซึ่งเท่ากับ จำนวนรอบต่อวินาที
แผนภาพนี้แสดงคลื่นรูปซายน์แต่คุณสมบัติต่างๆเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสัญญาณอื่นๆที่มีรูปร่างคงที่ได้
  • ขนาด(Amplitude) คือค่าแรงดันสูงสุดของสัญญาณมีหน่วยเป็นโวลท์ V
  • แรงดันยอด(Peak voltage) คืออีกชื่อหนึ่งของขนาด(amplitude)
  • แรงดันยอดถึงยอด(Peak-peak voltage) คือสองเท่าของแรงดันยอดหรือขนาด เมื่ออ่านค่ารูปคลื่นที่ออสซิลโลสโคปมักใช้หน่วยแรงดันยอดถึงยอด
  • คาบเวลา(Time period) คือเวลาที่สัญญาณครบรอบหนึ่งรอบ มีหน่วยวัดเป็นวินาที(s) แต่คาบเวลาที่ใช้ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะสั้นเป็นมิลลิวินาที(ms) และไมโครวินาที (µs)  1ms = 0.001s and 1µs = 0.000001s.
  • ความถี่(Frequency) คือจำนวนรอบคลื่นต่อวินาที มีหน่วยวัดเป็นเฮิรตซ์ (Hz) แต่ความถี่ที่ใช้ส่วนใหญ่จะสูงเป็นกิโลเฮิรตซ์ (kHz) และเมกะเฮิรตซ์ (MHz)
     1kHz = 1000Hz and 1MHz = 1000000Hz.
    ความถี่  =          1            และ    คาบเวลา  =          1        
    คาบเวลาความถี่
    ความถี่ของไฟฟ้าหลักในประเทศไทยคือ 50Hz,
    ดังนั้นจึงมีคาบเวลาเท่ากับ 1/50 = 0.02s = 20ms.

ค่ารูทมีนสแควร์(RMS)

RMS and peak voltagesค่าของแรงดันกระแสสลับจะเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง จากศูนย์ไปถึงยอดทางบวก กลับลงมายังศูนย์และไปยังยอดลบ แล้วก็กลับขึ้นมา
ยังศูนย์อีกครั้ง  โดยเวลาส่วนมากจะน้อยกว่าแรงดันยอด ทำให้การวัดจากผลที่แท้จริงไม่ดีจึงต้องใช้ค่าแรงดันรูทมีนสแควร์แทน (VRMS) ซึ่งคือ 0.707 ของแรงดันยอด (Vpeak):

VRMS = 0.707 × Vpeak   และ   Vpeak = 1.414 × VRMS
สมการนี้ใช้กับกระแสด้วย
ค่านี้เป็นจริงเฉพาะคลื่นรูปซายน์( เป็นรูปคลื่นธรรมดาที่สุดของไฟฟ้ากระแสสลับ)คลื่นรูปร่างอื่นต้องใช้ค่าที่ต่างออกไปไม่ใช่ 0.707 และ1.414
ค่าอาร์เอ็มเอสเป็นค่าประสิทธิผลของแรงดันหรือกระแสที่เปลี่ยนแปลง สามารถเทียบเท่าได้กับค่าดีซี(DC)สม่ำเสมอหรือคงที่ ซึ่งให้ผลเหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น ต่อหลอดกับไฟเอซี 6V RMS จะให้ความสว่างเท่ากันกับหลอดที่ต่อกับไฟดีซีสม่ำเสมอ 6V  อย่างไรก็ตามแสงจะหรี่ลงหากต่อหลอดกับไฟเอซีแรงดันยอด 6V เพราะเมื่อคิดเป็นค่า RMS จะได้เท่ากับ 4.2V เท่านั้น( เทียบได้กับไฟดีซีสม่ำเสมอ 4.2V )
มันเป็นการช่วยให้ง่ายหากคิดว่าค่าอาร์เอ็มเอสเป็นค่าแบบเฉลี่ย  แต่ก็ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยที่แท้จริง! ความจริงค่าเฉลี่ยของแรงดัน(หรือกระแส)ของสัญญาณเอซีจะเท่ากับศูนย์ เพราะส่วนบวกกับส่วนลบ จะหักล้างกันหมด
 ค่าไฟเอซีที่วัดด้วยมิเตอร์เป็นค่าอาร์เอ็มเอสหรือค่าแรงดันยอด?
โวลท์มิเตอร์และแอมป์มิเตอร์เอซีแสดงค่าอาร์เอ็มเอส(RMS) มิเตอร์ดีซี(DC)ก็แสดงค่าอาร์เอ็มเอส(RMS)เช่นกันเมื่อต่อวัดไฟดีซีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าความถี่น้อยกว่า 10Hz เราจะเห็นมิเตอร์แกว่งไปมา

คำว่า '6V AC' แท้จริงหมายถึง RMS หรือแรงดันยอด?

หากเป็นค่าแรงดันยอดต้องมีคำว่า"peak"กำกับชัดเจน ไม่เช่นนั้นเราต้องคิดว่าเป็นค่าอาร์เอ็มเอส(RMS)ไว้ก่อน  ปัจจุบันแรงดันและกระแสเอซีใช้ค่าอาร์เอ็มเอสเสมอเพราะรู้สึกมีเหตุผลเมื่อต้อง
เทียบกับกระแสหรือ แรงดันดีซีสม่ำเสมอจากแบตเตอรี่ตัวอย่างเช่น ไฟ'6V AC' หมายถึง 6V RMSและคิดเป็นแรงดันยอดเท่ากับ  8.5V  ไฟหลักในประเทศไทยคือ 220V AC หมายถึง 220V RMS ดังนั้นแรงดันยอดของไฟหลักประมาณเท่ากับ 311V

รูทมีนสแควร์(RMS)แท้จริงหมายถึงอะไร ?

ค่าอาร์เอ็มเอสคือค่าไฟกระแสสลับที่เทียบเท่าไฟกระแสตรง วิธีหาค่าอาร์เอ็มเอสจากคลื่นรูปซายน์ ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ดังนี้
ตอนแรกให้ยกกำลังสองค่าทุกจุดทั้งด้านบวกและด้านลบของรูปซายน์  แล้วเฉลี่ยค่าที่ยกกำลังสองทั้งหมด และหาค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยนี้  นั่นคือค่าอาร์เอ็มเอส(RMS)  สับสนไหม? ไม่ต้องไปสนใจคณิตศาสตร์หรอก (มันดูซับซ้อนเกินความเป็นจริง) เพียงยอมรับว่าค่าอาร์เอ็มเอส(RMS)ของแรงดันและกระแส มีประโยชน์มากกว่าค่ายอด(peak)ก็พอ

อ้างอิง : https://bit.ly/2KNXQAF