KidBright จากจินตนาการสู่ความเป็นจริง
KidBright เป็นบอร์ดที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียนผ่านการเรียนรู้แบบ Learn and Play บอร์ดถูกออกแบบให้มีการแสดงผลและเซนเซอร์แบบง่าย ซึ่งจะทำงานสอดคล้องกับชุดคำสั่งควบคุมการทำงาน โดยผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้างชุดคำสั่งแบบ Block-structured Programming ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
จุดเด่นของเทคโนโลยี:
บอร์ดสมองกลฝังตัวประกอบด้วย เซนเซอร์พื้นฐาน จอแสดงผล real-time clock ลำโพง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
สร้างชุดคำสั่งแบบ block-structured programming ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
ชุดคำสั่งถูกส่งไปยังบอร์ดสมองกลฝังตัวผ่านเครือข่ายไร้สาย ทำให้ใช้งานได้ง่ายไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อสาย
คุณสมบัติ:
แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android
แอปพลิเคชันสร้างชุดคำสั่งรองรับการทำงานแบบ Event-driven Programming
แอปพลิเคชันสร้างชุดคำสั่งรองรับการทำงานแบบ Multitasking
รองรับการเชื่อมต่อเซนเซอร์ที่หลากหลาย
ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย:
โรงเรียนต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยงานส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
นักเรียนที่สนใจ
KidBright เป็นบอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้โปรแกรมมิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียน ได้ออกมาเพื่อให้ง่ายต่อการเชื่อมต่อและใช้งาน เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถทำให้ผู้เรียนสนุกและได้เรียนรู้ตลอดการออกแบบ ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มต้นกันเลย!
อุปกรณ์ในกล่อง KidBright ประกอบด้วย
บอร์ดหลัก
บอร์ด Sensor Hub
สายเชื่อมต่อ
ขาตั้งอุปกรณ์ในกล่อง KidBright
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ
ประกอบขาตั้งกับบอร์ดหลัก ให้ครบทั้ง 4 ขา
ติดตั้งบอร์ด Sensor Hub ไว้ด้านล่างบอร์ดหลัก โดยให้ขั้วสีขาวของบอร์ดหลักและบอร์ด Sensor Hub อยู่ฝั่งเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการต่อสาย
ต่อสายเชื่อมต่อเข้ากับทั้ง 2 บอร์ด เพียงเท่านี้เราก็จะได้บอร์ด KidBright ที่พร้อมใช้งานแล้ว
KidBright เป็นบอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้โปรแกรมมิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียน หลังจากที่เราได้เรียนรู้การเชื่อมต่อบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเชื่อมต่อบอร์ด กับแท็บเล็ตเข้าด้วยกัน เพื่อให้โปรแกรมทำงาน
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ
ประกอบขาตั้งกับบอร์ดหลัก ให้ครบทั้ง 4 ขา
ติดตั้งบอร์ด Sensor Hub ไว้ด้านล่างบอร์ดหลัก โดยให้ขั้วสีขาวของบอร์ดหลักและบอร์ด Sensor Hub อยู่ฝั่งเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการต่อสาย
ต่อสายเชื่อมต่อเข้ากับทั้ง 2 บอร์ด เพียงเท่านี้เราก็จะได้บอร์ด KidBright ที่พร้อมใช้งานแล้ว
KidBright เป็นบอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้โปรแกรมมิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียน หลังจากที่เราได้เรียนรู้การเชื่อมต่อบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเชื่อมต่อบอร์ด กับแท็บเล็ตเข้าด้วยกัน เพื่อให้โปรแกรมทำงาน
https://youtu.be/Irh1tEHLyrg
การเชื่อมต่อระหว่างบอร์ดกับอุปกรณ์ Android สามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นผ่าน Wifi Hotspot หรือ Access Point อีกทั้งยังสามารถเข้าควบคุมบอร์ดผ่าน อุปกรณ์ Android หรือ Web Browser ได้อีกด้วย สร้างความสะดวกสบายอีกขั้นให้กับการเรียนรู้ด้วย KidBright สำหรับบทความนี้จะแนะนำขั้นตอนการเชื่อมต่อ AdHoc Mode, Infra Mode และ Cloud Mode ชมได้จากคลิปนี้เลย!
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ AD-HOC Mode (นาทีที่ 1.05 เป็นต้นไป)
เลือกเมนู Add Board
กดปุ่มที่ 1 ใส่เลขบอร์ด
กด Connection Setup
ทำตามขั้นตอนที่ปรากฏ แล้วเลือก Ad-Hoc Mode
เมื่อมีการเชื่อมต่อ ไฟจะหยุดกระพริบ
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ Infra Mode (นาทีที่ 3.09 เป็นต้นไป)
กด Connection Setup
ทำตามขั้นตอนที่ปรากฏ
เลือก Infra Mode
กด Switch 2 ค้างไว้ 5-6 วินาที
กรอก Password
เมื่อมีการเชื่อมต่อ ไฟจะหยุดกระพริบ
ขั้นตอนการเชื่อมต่อ Cloud Mode (นาทีที่ 6.08 เป็นต้นไป)
เปิด INFRA Mode
หลังจากที่บอร์ด KidBright เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Android แล้ว หลังจากนั้นจะเป็นการทดสอบใช้งานบอร์ด ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลบนจอ การเล่นเสียง โดยสามารถดึงโปรแกรมตัวอย่างมาใช้งาน และสามารถสร้างขึ้นใหม่เองได้อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มทำตามคลิปนี้ไปพร้อมๆกันเลย
เมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสร็จแล้ว เราสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบได้จากโปรแกรมตัวอย่าง
อ้างอิง : https://bit.ly/2DX8jbt
แนะนำภาษา Python
ภาษา Python คืออะไร
Python เป็นภาษาเขียนโปรแกรมระดับสูงที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการเขียนโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป ภาษา Python นั้นสร้างโดย Guido van Rossum และถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1991 Python นั้นเป็นภาษาแบบ interprete ที่ถูกออกแบบโดยมีปรัญชาที่จะทำให้โค้ดอ่านได้ง่ายขึ้น และโครงสร้างของภาษานั้นจะทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถเข้าใจแนวคิดการเขียนโค้ดโดยใช้บรรทัดที่น้อยลงกว่าภาษาอย่าง C++ และ Java ซึ่งภาษานั้นถูกกำหนดให้มีโครงสร้างที่ตั้งใจให้การเขียนโค้ดเข้าใจง่ายทั้งในโปรแกรมเล็กไปจนถึงโปรแกรมขนาดใหญ่
Python นั้นมีคุณสมบัติเป็นภาษาเขียนโปรแกรมแบบไดนามิกส์และมีระบบการจัดการหน่วยความจำอัตโนมัติและสนับสนุนการเขียนโปรแกรมหลายรูปแบบ ที่ประกอบไปด้วย การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ imperative การเขียนโปรแกรมแบบฟังก์ชัน และการเขียนโปรแกรมแบบขั้นตอน มันมีไลบรารี่ที่ครอบคลุมการทำงานอย่างหลากหลาย
ตัวแปรในภาษา Python นั้นมีให้ใช้ในหลายระบบปฏิบัติการ ทำให้โค้ดของภาษา Python สามารถรันในระบบต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง CPython นั้นเป็นการพัฒนาในตอนตั้นของ Python ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ open source และมีชุมชนสำหรับเป็นต้นแบบในการพัฒนา เนื่องจากมันได้มีการนำไปพัฒนากระจายไปอย่างหลากหลาย variant CPython นั้นจึงถูกจัดการโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Python Software Foundation
ประวัติของภาษา Python
ภาษา Python นั้นกำเนิดขึ้นในปลายปี 1980 และการพัฒนาของมันนั้นเริ่มต้นใน December 1989 โดย Guido van Rossum ที่ Centrum Wiskunde & Informatica (CWI) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องในผู้ประสลความสำเร็จในการสร้างภาษา ABC ที่มีความสามารถสำหรับการ exception handling และการติดต่อผสานกับระบบปฏิบัติการ Amoeba ซึ่ง Van Rossum นั้นเป็นผู้เขียนหลักการของภาษา Python และเขาทำหน้าเป็นกลางในการตัดสินใจสำหรับทิศทางการพัฒนาของภาษา Python
Python 2.0 ได้ถูกเผยแพร่ใน 16 October 2000 และมีคุณสมบัติใหม่ที่โดดเด่น ที่ประกอบไปด้วย cycle-detecting garbage collector และสนับสนุน Unicode กับการเผยแพร่ครั้งนี้ กระบวนการพัฒนานั้นได้เปลี่ยนไปโดยการร่วมกันพัฒนาด้วย Community มากขึ้น
Python 3.0 (ซึ่งได้มีการพัฒนามาก่อนหน้านี้และได้อ้างถึงโดยใช้ชื่อว่า Python 3000 หรือ py3k) มันการพัฒนาที่ถอยหลังซึ่งมันเข้ากันกับ Python ในเวอร์ชันก่อนหน้าไม่ได้ ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ใน 3 December 2008 หลังจากที่ได้มีการทดสอบอยู่เป็นเวลานาน คุณสมบัติที่สำคัญของมันจำนวนมากได้ถูกย้อนกลับไปเพื่อให้เข้ากันได้กับ Python 2.6.x และ 2.7.x เวอรฺชันซีรีย์
ไวยากรณ์ของภาษา Python
ภาษา Python นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีความตั้งใจว่าจะให้เป็นภาษาที่อ่านง่าย มันถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่มองเห็นได้โดยไม่ซับซ้อน โดยมักจะใช้คำในภาษาอังกฤษในขณะที่ภาษาอื่นใช้เครื่องหมายวรรคตอน นอกจากนี้ Python มีข้อยกเว้นของโครงสร้างทางภาษาน้อยกว่าภาษา C และ Pascal
Python Interpreter
Python interpreter นั้นเป็นตัวแปรภาษาของภาษา Python เพื่อให้สามารถรันโค้ด Python ได้ ซึ่งได้มากับไลบรารี่มาตรฐานที่สามารถใช้งานได้ฟรี ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ https://www.python.org/ ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ source และ binary สำหรับแพลตฟอร์มทีไ่ด้รับความนิยม นอกจากนี้ interpreter ยังสนับสนุนการเขียนโปรแกรมกับ Interactive shell ซึ่งเป็นการเขียนโค้ดของภาษา Python ลงไปและเห็นผลลัพธ์การทำงานของคำสั่งได้ในทันที Python interpreter นั้นยังสามารถนำเพิ่มความสามารถกับฟังก์ชันใหม่ที่ถูกพัฒนามาจากภาษา C และ C++ Python นั้นเหมาะสำหรับเป็นภาษาในการสร้าง Extension และแอพพลิเคชันที่ปรับแต่งได้
ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษา Python ในดรื่องคุณสมบัติของภาษาและประวัติความเป็นมาของมัน นอกจากนี้เรายังพูดถึง Python interpreter ซึ่งเป็นตัวแปลโค้ดของภาษา Python ให้สามารถทำงานได้ ในบทต่อไป จะเป็นการเตรียมเครื่องมือและการติดตั้งสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Pytho
เนื้อหา
- แนะนำภาษา Python
- การติดตั้งภาษา Python
- โครงสร้างของภาษา Python
- ตัวแปรและประเภทข้อมูล
- การรับค่าและการแสดงผล
- ตัวดำเนินการ
- คำสั่งเลือกเงื่อนไข
- คำสั่งวนซ้ำ
- ฟังก์ชัน
- String
- String methods
- Lists
- List methods
- Tuples
- Dictionary
- Type conversions
- Modules
- Input/output with files
- Exceptions
- คลาสและออบเจ็ค
- Inheritance
อ้างอิง : https://bit.ly/2R89rxd
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น